Friday, May 6, 2011
น่าน เมืองท่องเที่ยวที่ยังสดใหม่
Do you like this story?
จังหวัดน่านเป็นจังหวัดเงียบๆที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก การไปก็ต้องข้ามภูเขาเทือกเขาไปยากๆพอๆกับไปอำเภอปาย และยังไม่ใช่เมืองผ่านไปยังจังหวัดอื่นๆได้โดยง่าย ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ให้ความสนใจจังหวัดนี้มากนัก กลายเป็นเมืองลับแลน้อยคนจะรู้จักและเคยไปเที่ยวจังหวัดนี้
ในความเงียบและสงบกลับกลายมาเป็นจุดเด่นที่ทำให้เมืองน่านมีเสน่ย์ที่ใครหากได้ไปเที่ยวสักครั้งจะมีความสุข ณ.ตัวจังหวัดน่านกลางเมืองตกกลางคืนดึกหน่อยก็ไม่มีรถวิ่งแล้วเงียบเหมือนอยู่ตำบนปลายทางของจังหวัดใหญ่ๆ
ที่น่านชาวบ้านก็ยังคงรักษาความเป็นอยู่ของเขาได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นตลาดเช้ากลางเมืองน่านบริเวณตรงข้าโรงแรมเทวราช ที่ทุกวันนี้ถึงแม้จะมีบิ๊กซีเป็นทางเลือกแต่คนเมืองน่านก็ยังนิยมใช้ตลาดเช้าและตลาดเย็นเป็นที่ซื้อของสด ผัดสด จากภูเขาที่ชาวเขานำมาขายกัน
เมืองน่าเป็นเมืองสงบมีวัดหลายวัดในเขตตัวเมือง วัดจะอยู่ติดๆกัน เหมาะสำหรับท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะวัดภูมินทร์มีจิตกรรมฝาผนังที่ดังไปทั่วโลก รูปดังกล่าวคือรูปที่ภูชายกำลังกระซิบให้ผู้หญิงฟัง ว่ากันว่าเป็นเสียงกระซิบที่ดังไปทั่วโลก
จังหวัดน่านมีแม่น้ำน่านไหลผ่านจังหวัดเหนือจากแม่น้ำน่านนี้ขึ้นไปทางเหนือไม่มีเขื่อนอยู่เลยทำให้น้ำแม่น้ำน่านช่วงหน้าแล้งแห้งเดินข้ามไปมาได้ หน้าฝนน้ำหลากน้ำแรงพัดบ้านทั้งหลังหายไปได้เลย บริเวณตัวเมืองน่านมีการสร้างเขื่อนไว้กันตลิ่งทรุดตัว กลับกลายเป็นที่ท่องเที่ยวที่นิยมไปกินลมชมวิวกันริมแม่น้ำน่าน ในช่วงน้ำหลากชาวเมืองน่านก็ยังไปลุ้นว่าจะท่วมตัวเมืองหรือไม่ แม่น้ำน่านไหลลงทางใต้และจะไปลงเขื่อนเขื่อนสิริกิต์ที่จังหวัดอุตรดิตถ์
จอง Call Center
081 498 0613 เพ็ญนภา
(ต่างประเทศ +ุ66 81 498 0613) - มีเที่ยวบินวันละ 1 เที่ยวบิน เฉพาะ อังคาร พุธ พฤ เสาร์ อาทิตย์
เชียงใหม่ - น่าน - เชียงใหม่
เชียงใหม่ - น่าน วันละเที่ยว เฉพาะ อังคาร พุธ พฤ เสาร์ อาทิตย์ ออก 13:30 ถึง 14:15
น่าน - เชียงใหม่ วันละเที่ยว เฉพาะ อังคาร พุธ พฤ เสาร์ อาทิตย์ ออก 14:30 ถึง 15:15
แนะนำ โรงแรมดีๆ ของจังหวัดน่าน
เนื่องจากจังหวัดน่านเงียบสงบยังคงวัฒนธรรมต่างๆไว้ได้อย่างดี ตลาดจนสิ่งปลูกสร้างก็ไม่มากมายยังคงรักษาบ้านเก่าๆ ทรงล้านนาโบราณไว้ได้มาก หากใครได้ไปหลวงพระบางก็คงนึกภาพออกมาคล้ายๆกัน ในวันที่หลวงพระบางได้เป็นมรดกโลก ขอให้คนไทยได้ภูมิใจในเมืองน่านของเรา เพราะถึงแม้ยังไม่ได้เป็นมรดกโลกในวันนี้ ความงดงามด้านต่างๆของน่านก็มีคุณค่ามากพอในใจเราโดยที่ไม่ต้องประกาศเป็นมรดกโลกก็ได้
จังหวัดน่าน มีพื้นที่ 11,472,076 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7 ล้านไร่เศษ อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย
ความที่เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขา อีกทั้งสายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่าน ทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝน หรือ เหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยว ยังทำให้ผู้มาเยือนเก็บความประทับใจกลับไปด้วย ป้อมปราการธรรมชาติที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือเทือกเขาผีปันน้ำและหลวงพระบาง
พื้นที่ป่าของเมืองน่านมีประมาณ 5 ล้านไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งจังหวัดประมาณ 7 ล้านไร่ ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจึงไม่สามารถฝืนกฎของธรรมชาติได้ พวกเขาจะไม่ตัดไม้ หรือถางป่าทำไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ พวกเขาดูแลรักษาภูเขาและป่าไม้ด้วยความเคารพ ชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น ขมุ ลัวะ และเมี่ยน เชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่รักษาป่า
พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำของจังหวัดน่านมีเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น จะกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาในอำเภอต่างๆ ชุมชนตามที่ราบลุ่มเหล่านี้จะใช้ระบบการทดน้ำท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ทุกปีเครือข่ายชุมชนที่ใช้ระบบการประปาร่วมกัน โดยเฉพาะ ไทลื้อ ลาวพวน จะร่วมกันจัดงานสักการะดวงวิญญาณที่เฝ้าดูแลรักษาป่า
แม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งจะไหลขึ้นเหนือไปทางอำเภอทุ่งช้าง ก่อนจะไหลลงใต้ ไปยังอำเภอปัว, ท่าวังผา, เมืองน่าน, เวียงสา หลังจากนั้นจะไหลลงไปยังจังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ 40 ของลำน้ำน่านนั้นหล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา
ความเกี่ยวดองกันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มีร่วมกัน ทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะยู่กับความเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงตระหนักถึงความเป็นตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สัมผัสธรรมชาติ 3 จังหวัดภาคเหนือ
น่าน แพร่ ลำปาง
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ดอยเสมอดาว ผาชู้ เสาดินนาน้อย คอกเสือ พระธาตุแช่แห้ง งาช้างดำ วัดภูมินทร์ วัดช้างค้ำ วัดหนองบัว หมู่บ้านไทยลื้อ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี วัดไหล่หิน เงาพระธาตุกลับหัว วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุจอมปิง
2 Unseen Thailand 2 พระธาตุประจำปีเกิด
วันเดินทาง
- 19.30 น. พบกันที่จุดนัดหมาย สถานีรถไฟบางซื่อ (แผนที่จุดจอดรถ) เจ้าหน้าที่ NeoTrip รอต้อนรับ
- 20.00 น. ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศหลังคาสูงอย่างดีสู่ จ. น่าน เจ้าหน้าที่บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มบนรถ (มื้อที่ 1)
วันที่สอง
- ถึง อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ให้่ท่านได้ทำธุระส่วนตัว จากนั้นชมความงดงามยามเช้าอันบริสุทธิ์ของผืนป่าที่ ดอยเสมอดาว ให้ท่านได้ถ่ายภาพตามอัธยาศัย
- บริการอาหารเช้า (มื้อที่ 2) ที่ห้องอาหารของอุทยานฯ หลังอาหาร ชม ผาชู้ และ ธงชาติซึ่งมีสายธงที่ยาวที่สุดในโลก
- จากนั้นนำท่านชม เสาดินนาน้อย และ คอกเสือ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติของชั้นดินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนลดหลั่น งดงามเช่นเดียวกับแพะเมืองผี
- บริการอาหารกลางวัน (มื้อที่ 3) หลังอาหารนำท่านนมัสการ พระธาตุประจำของผู้ที่เกิดปีเถาุะ ที่ วัดพระธาตุแช่แห้ง จากนั้นนำท่านไปยัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ชมโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ และชมวัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน งาช้างดำ สัญลักษณ์ของเมืองน่าน
- ชม UnSeen Thailand พระประธานจตุรทิศ ที่ วัดภูมินทร์ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย และชมประตููไม้ทั้งสี่ทิศซึ่งถูกแกะสลักลวดลาย โดยช่างฝีมือล้านนา อย่างงดงาม พร้อมภาพจิตรกรรมฝาผนัง อายุ 100 กว่าปี ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตชาวน่านในสมัยนั้น
- นำท่านไปยัง วัดช้างค้ำวรวิหาร ชม เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) สถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย โดยรอบฐานองค์พระเจดีย์จะก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ "ค้ำ" องค์เจดีย์ไว้
- สมควรแก่เวลา นำท่านเข้าที่พัก เก็บสัมภาระ และพักผ่อนตามอัธยาศัย
- บริการอาหารเย็น (มื้อที่ 4) พักผ่อน
วันที่สาม
- หลังอาหารเช้า (มื้อที่ 5) นำท่านไปยัง อ.ท่าวังผา ชมศิลปะไทยลื้อที่ วัดหนองบัว ชมจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถวัดหนองบัวซึ่งเป็นจิตรกรรมโบราณในยุครัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเรื่องราวของ "ปัญญาสชาดก" อีกพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า
- จากนั้นนำท่านเยี่ยมชม หมู่บ้านไทลื้อหนองบัว สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ และ้เลือกซื้อของฝากประเภทผ้าทอพื้นเมืองซึ่งมีหลากหลายลวดลาย โดยเฉพาะ ผ้าทอลายน้ำไหล ซึ่งงดงามและเป็นที่นิยมอย่างมาก
- หลังอาหารกลางวัน (มื้อที่ 6) เดินทางต่อไปยัง จ.แพร่ นำท่านเข้าสู่ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี ชมพระอุโบสถซึ่งเป็นที่จำลองพุทธศิลป์ล้านนาที่สำคัญและงดงามจากทุก ๆ แห่งของล้านนา และนมัสการพระบรมธาตุบารมี 30 ทัส
- ออกเิดินทางต่อไปยัง จ.ลำปาง นำท่านเข้าที่พัก ทำธุระส่วนตัว บริการอาหารเย็น (มื้อที่ 7) พักผ่อน
วันที่สี่
- หลังอาหารเช้า (มื้อที่ 8) นำท่านไปยัง วัดเสลารัตนปัพพตาราม (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) ชมพระวิหารเก่าแก่ฝีมือช่างเชียงตุงเป็นศิลปะแบบล้านนาไทย ประดับลวดลายงดงามทั้งหลัง โดยเฉพาะส่วนหน้าบัน และซุ้มประตูที่มีการก่ออิฐถือปูนประดับรูปปั้นสัตว์ศิลปะล้านนาแท้ เก่าแก่ วิจิตรจนเป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำ "พระสุริโยทัย" ภาพยนตร์แ่ห่งสยามประเทศ
- นำท่าน นมัสการพระธาตุประจำของผู้ที่เกิดปีฉลู ที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง ชมรอยกระสุนของหนานทิพย์ช้าง ครั้งกู้เมืองลำปาง และ ชม เงาพระธาตุกลับหัว ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน UnSeen Thailand
- นำท่านไปยัง วัดพระธาตุจอมปิง ชม เงาพระธาตุกลับหัว ซึ่งมีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง
- บริการอาหารกลางวัน (มื้อที่ 9) ที่ร้านอาหารใน จ.ลำปาง
- แวะบริการอาหารเย็น (มื้อที่ 10) ที่ร้านอาหารใน จ.นครสวรรค์ ก่อนจะออกเดินทางกลับกรุงเทพฯ
- 20.00 น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ เจ้าหน้าที่ NeoTrip น้อมส่งท่านที่จุดนัดหมายเดิมด้วยความประทับใจ
ค่าใช้จ่ายต่อท่าน**
ผู้ใหญ่ 5,600 บาท สมาชิก 5,400 บาท พักเดี่ยวเพิ่ม 900บาท
เด็ก (อายุต่ำกว่า 12 ปี - ไม่มีเตียง) 4,600 บาท
ชาวต่างชาติ เพิ่มค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่เพิ่มเติมตามการจ่ายจริง
**ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคา อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลง จนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างราคา
ค่าใช้จ่ายนี้รวม
- ค่ารถตู้ปรับอากาศหลังคาสูง (ภาพรถตู้เดินทาง)
- ค่าที่พัก 2 คืน ตามระบุ หรือเทียบเท่า (ห้องละ 2 ท่าน)
- ค่าอาหาร 10 มื้อตามระบุ พร้อมเครื่องดื่มบริการบนรถ
- ค่าธรรมเนียมสถานที่ต่าง ๆ
- ค่าประกันการเดินทาง วงเงินท่านละ 200,000 บาท
- มัคคุเทศก์นำเที่ยวตลอดการเดินทาง
ค่าใช้จ่ายนี้ไม่รวม
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักรีด มินิบาร์ อาหารและเครื่องดื่มนอกรายการ
การสำรองที่นั่ง
1. โอนเงินมัดจำท่านละ 2,000 บาท เข้าบัญชีที่แจ้งไว้ ส่วนที่เหลือชำระก่อนวันเดินทางอย่างน้อย 10 วัน
2. โอนเงินแล้ว กรุณาส่ง FAX ใบโอนเงินพร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล อายุ (เพื่อใช้ในการทำประกัน) และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ พร้อมระบุโปรแกรมทัวร์ ส่วนสลิปโอนเงินกรุณาเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันในวันเดินทาง
3. การจองจะมีผลสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อมีการโอนเงินมัดจำเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
*ราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเทศกาล
**โปรแกรมการเดินทางอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพภูมิอากาศ เส้นทาง และความเหมาะสม
*** เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี พักรวมกับผู้ใหญ่
***NeoTrip ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกโปรแกรมในกรณีที่มีการจองต่ำกว่า 7 ท่าน
สิ่งที่ควรนำไปด้วย ของใช้ส่วนตัว ยาประจำตัว ครีมกันแดด กล้องถ่ายรูป รองเท้าสวมสบาย เสื้อกันหนาว
โทรศัพท์ Mobile NeoTrip : Patrick 081-617-2116 , เพ็ญนภา 081-498-0613
E-mail : neomart@gmail.com
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา
และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981
เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน
ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง
ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผุ้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง
หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่าน ช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง
นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
รู้จักคน รู้จักชุมชน น่านมีจำนวนประชากร 514,688 คน ประกอบด้วยหลายชนเผ่าได้แก่
ไทยวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมืองน่าน ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษ ของคนเมืองน่านที่อพยพมาจากล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณชายแดนพื้นที่รอยต่อระหว่างสิบสองปันนาเชียงตุง ลาว และล้านนา อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลทางการดำรงชีพ การถูกกดขี่จากจีน และพม่า หรือหนีภัยสงครามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน บ้างก็อพยพตามสายเครือญาติ และการค้าขาย วัฒนะธรรมไทลื้อกับไทยวนมีความคล้ายคลึงกันทั้งภาษา ศาสนา การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม โดยเฉพาะวิถีการผลิตแบบ "เอ็ดนาเมืองลุ่ม" หรือทำนาดำ เอกลักษ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอลายน้ำไหลและลายลื้อ โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า "เกา" หรือ "ล้วง"
ลัวะ/ถิ่น เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานมาดั้งเดิม รวมทั้งที่อพยพมาจากเมืองไชยบุรี สปป.ลาว ส่วนคำว่า "ถิ่น" เป็นชื่อที่ทางการไทยเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มนี้ในจังหวัดน่าน ลัวะมักตั้งบ้านเรือนบนพื้นที่สูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณลำน้ำสาขาแม่น้ำน่าน เช่น น้ำวาง น้ำว้า และน้ำมาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ และหาของป่า มีฝีมือในการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นภาชนะต่างๆ หลายๆหมู่บ้านยังคงความเชื่อดั้งเดิมที่ผีสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีไร่ และผีบรรพบุรุษ งานพิธีใหญ่ที่สุดในรอบปีได้แก่ พิธี "โสลด" (อ่าน สะโหลด) หรือพิธี "กิ๋นดอกแดง" เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิต และเพื่อเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่ ปัจจุบันลัวะตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รองลงมาคือ ที่อำเภอบ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง และเชียงกลาง
ขมุ สันนิฐานว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านชายแดนเมืองน่านและลาว เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีก่อน สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ.2373 ขมุถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นกำลังในการสร้างกำแพงเมืองเก่าน่าน เจมส์ เอฟ แม็คคาธีร์ได้สำรวจเพื่อทำแผนที่ทางภาคเหนือช่วงปี พ.ศ.2433-2436 กล่าวถึงขมุตามชายแดนเมืองน่านว่ามี 2 กลุ่ม คือ ขมุ (ลาว เรียกว่า ข่า) หรือ "ข่าลาว" อยู่ใต้อำนาจหลวงพระบางและขมุที่อยู่ใต้อำนาจของน่าน เรียก "ข่าแคว้น"ชาวขมุได้ชื่อว่ามีฝีมือในการตีเหล็กเพื่อเป็นเครื่องมือ เช่น มีด ดาบ จอบ เสียม
ม้ง (แม้ว) ตำนานของชนเผ่ากล่าวว่า อพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียสู่ประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อว่าม้งอพยพมาเมืองน่านราว พ.ศ. 2433-2442 มีความสามารถในด้านการค้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และทำเครื่องเงิน ชาวม้งมีความเชื่อว่าโลหะเงินเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และมงคลแก่ชีวิต
เย้า (เมี่ยน) ถิ่นเดิมอยู่แถบมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทางตะวันออกของประเทศจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร วัฒนธรรมของเมี่ยนจึงได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาษา การสืบสกุลทางฝ่ายสามี การใช้แซ่ ประเพณีปีใหม่ (ตรงกับเทศกาลตรุษจีน) สาวเมี่ยนมีฝีมือในการปักผ้า ปัจจุบันมีเมี่ยนอยู่มากที่สุดที่อำเภอเมือง
มลาบรี (ผีตองเหลือง) สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมชนชาติละว้าที่หนีร่นกลุ่มชนไทไปอยู่ตามป่าเขา ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เมื่อประมาณ 800 กว่าปีมาแล้ว เดิมดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง สร้างเพียงเพิงมุงใบตอง และจะย้ายถิ่นเมื่อใบตองเริ่มแห้งคือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปัจจุบันมลาบรีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเวียงสา วัฒนธรรมถูกกลืนกลายไปหมดแล้ว
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ท่าอากาศยานจังหวัดน่าน ถ.วรวิชัย โทร. 0 5471 0270
บริษัทการบินไทย จำกัด ถ.มหาพรหม โทร. 0 5471 0377
โรงพยาบาลจังหวัดน่าน ถ.วรวิชัย โทร. 0 5471 0138
สถานีตำรวจภูธร ถ.สุริยะพงษ์ โทร. 0 5475 1681
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถ.น่าน-ทุ่งช้าง อ.ทุ่งช้าง โทร. 0 5479 5009
สำนักงานจังหวัดน่าน ถ.สุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0341
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ถ.สุริยพงษ์ โทร. 0 5477 3047
หอการค้าจังหวัดน่าน โทร. 0 5477 4499
จอง Call Center
081 498 0613 เพ็ญนภา
(ต่างประเทศ +ุ66 81 498 0613) - มีเที่ยวบินวันละ 1 เที่ยวบิน เฉพาะ อังคาร พุธ พฤ เสาร์ อาทิตย์
เชียงใหม่ - น่าน - เชียงใหม่
เชียงใหม่ - น่าน วันละเที่ยว เฉพาะ อังคาร พุธ พฤ เสาร์ อาทิตย์ ออก 13:30 ถึง 14:15
น่าน - เชียงใหม่ วันละเที่ยว เฉพาะ อังคาร พุธ พฤ เสาร์ อาทิตย์ ออก 14:30 ถึง 15:15
แนะนำ โรงแรมดีๆ ของจังหวัดน่าน
This post was written by: beemagnet77
BeeMagnet is a professional graphic designer, web designer and business man with really strong passion that specializes in marketing strategy. Usually hangs out in Twitter has recently launched a blog dedicated to home design inspiration for designers, bride, photographers and artists called HomeBase
0 Responses to “น่าน เมืองท่องเที่ยวที่ยังสดใหม่”
Post a Comment